รู้จัก กีฬาเรือใบ พร้อมแนะนำสถานที่ฝึกเล่นเรือใบในกรุงเทพฯ

เล่นเรือใบ

หากพูดถึง กีฬาเรือใบ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นกีฬาที่เล่นยาก อุปกรณ์เยอะ แถมไกลตัว ยากที่จะมีโอกาสได้เล่นสักครั้ง เพราะมักคิดว่าเรือใบต้องเล่นกลางทะเลเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การ เล่นเรือใบ ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด และไม่จำเป็นจะต้องเล่นในทะเลเท่านั้น ในกรุงเทพฯ ก็มีสถานที่สำหรับกิจกรรมทางน้ำที่เราสามารถสนุกไปกับเรือใบได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงทะเลให้ลำบาก แถมยังเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง ใครก็สามารถใช้บริการได้ โดยวันนี้เราก็จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับกีฬาทางน้ำที่เรียกว่า เรือใบ พร้อมแนะนำสถานที่ แล่นเรือใบ ในกรุงเทพฯ ให้ได้ลองไปเล่นกัน 

กีฬาเรือใบ คืออะไร?

แม้ว่าสำหรับบางคนแล้ว กีฬาเรือใบ นั้นอาจจะฟังดูไกลตัวและไม่เป็นที่นิยมเท่ากับกีฬาทางน้ำประเภทอื่น แต่จริง ๆ แล้ว เรือใบ ถือเป็นกีฬาเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปี เป็นกีฬาที่นักกีฬานอกจากจะต้องเอาชนะคู่แข่งแล้ว ยังต้องเอาชนะธรรมชาติทั้งคลื่น แสงแดด และกระแสลม เพื่อไปให้ถึงเส้นชัย และที่สำคัญคือเป็นกีฬาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดปราน ถึงขนาดเคยทรงเป็นตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2510 และทรงชนะเลิศเหรียญทองอีกด้วย

ต้นกำเนิดกีฬาเรือใบ

สำหรับ กีฬาเรือใบ นั้นมีต้นกำเนิดมาจาก “ดัตช์” (Dutch) หรือประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน เดิมทีการ ล่องเรือใบ ถือเป็นกีฬาท้องถิ่นในเนเธอร์แลนด์ จนกระทั่งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2203 พระเจ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 (Charles II) ได้เสด็จกลับอังกฤษหลังถูกเนรเทศไปอยู่ที่เนเธอร์แลนด์เป็นเวลาหลายปี พระองค์จึงได้นำ กีฬาเรือใบ เข้ามาเล่นในประเทศอังกฤษด้วย ก่อนที่ต่อมาจะมีการตั้งสโมสรเรือใบแห่งแรกของโลกชื่อว่า “สโมสรคอร์คฮาร์เบอร์” (Cork Harbor) ในไอร์แลนด์ เมื่อ ปี พ.ศ.2263 ตามด้วยการก่อตั้งสโมสรเรือใบแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาชื่อ “สโมสรเรือใบนิวยอร์ก” (New York Yacht Club) เมื่อปี พ.ศ.2427

กีฬาเรือใบ ในโอลิมปิก

เรือใบ

สำหรับ กีฬาเรือใบ ถือเป็นหนึ่งในกีฬาเก่าแก่ที่อยู่คู่กับการแข่งขัน โอลิมปิก มาตั้งแต่ครั้งแรก ๆ โดยเดิมทีมันถูกบรรจุให้เป็น 1 ใน 10 ชนิดกีฬาที่จะแข่งขันกันใน โอลิมปิก ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2439 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ แต่เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้การแข่งเรือใบถูกยกเลิก ส่งผลให้ โอลิมปิก ในครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียง 9 ชนิดกีฬาเท่านั้น จนกระทั่ง โอลิมปิก ครั้งต่อมา พ.ศ.2443 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีการจัดแข่งเรือใบใน โอลิมปิก อย่างเป็นทางการ และจัดแข่งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใน โอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการแข่งเรือใบถึง 10 รายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมกว่า 330 คน 

ประโยชน์ของการเล่นเรือใบ 

สำหรับ กีฬาเรือใบ ถือเป็นกีฬาที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตไปในตัวด้วย โดยประโยชน์ของกีฬาประเภทเรือใบ มีดังนี้

1.เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย

เนื่องจากบังคับเรือใบให้แล่นไปในทิศทางต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยกำลังจากกล้ามเนื้อแขน ขา ไหล่ และหลัง กล้ามเนื้อทุกส่วนต้องทำงานสอดประสานกันตลอดเวลา หาก แล่นเรือใบ เป็นประจำก็จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและข้อต่อด้วย

2.เสริมสร้างสมดุลให้ร่างกาย 

หัวใจสำคัญของ กีฬาเรือใบ คือการรักษาสมดุลให้เรือลอยลำได้อย่างมั่นคง ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องขยับร่างกายเพื่อรักษาสมดุลให้เรือตลอดเวลา ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้ร่างกาย ช่วยให้สามารถจัดระเบียบร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

3.ฝึกการตัดสินใจ 

ในการควบคุมเรือให้แล่นไปถึงเส้นชัยจำเป็นต้องมีการคิด การวางแผน รวมถึงการตัดสินใจอย่างมีหลักการ บางครั้งอาจต้องตัดสินใจในเสี้ยวนาทีเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ดังนั้นการเล่น กีฬาเรือใบ เป็นประจำจะช่วยให้รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้ดี

4.ฝึกความอดทนและความสุขุม

แม้ว่า กีฬาเรือใบ จะเป็นกีฬาที่น่าตื่นเต้น ได้เผชิญหน้ากับธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ แต่ก็เป็นกีฬาที่ผู้เล่นจะต้องมีทั้งความอดทนและความสุขุม เพราะต้องคอยสังเกตคลื่นลมเพื่อรอจังหวะในการควบคุมเรือให้แล่นไปถึงเส้นชัย

วิธีการเล่นเรือใบและสิ่งที่ควรรู้ก่อนเล่นเรือใบ

 สำหรับใครที่สนใจ กีฬาเรือใบ แต่ไม่รู้วิธีการเล่นที่ถูกต้อง หรือไม่รู้เทคนิคการเล่นเบื้องต้นก็ไม่ต้องร้อนใจ เพราะวันนี้เราได้รวบรวมวิธีการเล่นเบื้องต้นสำหรับมือใหม่รวมทั้งสิ่งที่ควรรู้ก่อน เล่นเรือใบ มาฝากกัน ลองไปดูกันเลย

ประเภทของเรือใบ

สำหรับเรือใบที่นิยมใช้เล่นกันในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  • คีลโบ๊ท (Keel Boat): เรือที่มีกระดูกงูติดกับท้องเรือถาวร ส่วนใหญ่เป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกคนได้ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป
  • ดิงกี้ (Dinghy): เรือที่มีกระดูกงูยกขึ้นลงได้ ส่วนใหญ่เป็นเรือขนาดเล็ก มีทั้งชนิดใบเดี่ยว และ 2 ใบ เล่นได้ 1-2 คน เป็นเรือที่นิยมใช้แข่ง กีฬาเรือใบ ในรายการต่าง ๆ เช่น โอลิมปิก, เอเชียนเกมส์ และ ซีเกมส์ โดยเรือประเภทนี้มีหลายแบบ เช่น ออปติมิสต์ (Optimist) , ซูเปอร์มด (Super Mod) ,โอเค (OK) , เลเซอร์ (Laser) , เอนเตอร์ไพรส์ (Enterprise) ,ไฟร์บอลล์ (Fireball) เป็นต้น

ส่วนประกอบของเรือใบ

สำหรับเรือใบขนาดเล็กที่ใช้เล่นหรือแข่งใน กีฬาเรือใบ นอกจากส่วนที่เป็นตัวเรือแล้ว ยังมีส่วนประกอบสำคัญหลัก ๆ อีก 3 อย่าง ดังนี้

  • ใบเรือ (Sail): เพราะเรือใบไม่มีเครื่องยนต์ ใบเรือจึงทำหน้าที่รับลมและสร้างแรงผลักให้เรือสามารถแล่นไปข้างหน้าได้ภายใต้ข้อแม้ว่าใบเรือจะต้องอยู่ในมุมและองศาที่เหมาะสม 
  • หางเสือ (Rudder): ใช้ควบคุมทิศทางเรือ หากต้องการให้เรือมุ่งไปทิศทางใดก็ให้ปัดหางเสือไปทางทิศนั้น
  • คัดแคง (Center Board): ลักษณะเหมือนแผ่นกระดานยื่นลงไปใต้ท้องเรือ ทำหน้าที่ช่วยรักษาสมดุล ไม่ให้เรือเอียง หรือแล่นขวางทิศทางลม เพราะอาจทำให้เรือพลิกคว่ำได้

เทคนิคการแล่นเรือใบเบื้องต้น

หัวใจสำคัญของการ กีฬาเรือใบ คือการรักษาสมดุลให้เรือแล่นได้อย่างมั่นคง และการรู้ทิศทางลมว่าลมมาทางทิศไหน และลมแรงมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้สามารถ ขับเรือใบ ให้แล่นไปได้โดยใช้แรงและเวลาน้อยที่สุด โดยเทคนิคการแล่นเรือใบเบื้องต้นที่มือใหม่ควรรู้มี 3 เทคนิค ดังนี้

  • การแล่นเรือทวนลม (Beating): ตัวเรือทำมุม 45 องศากับกระแสลม ดึงใบเรือเข้ามาถึงมุมกราบท้ายเรือด้านใต้ลม จัดระเบียบร่างกายโดยนั่งให้ชิดไปด้านหน้าหรือตรงกลางลำเรือ คอยสังเกตใบเรือ ถ้าใบสะบัดให้ดึงหางเสือเข้าหาตัวเล็กน้อย จนกระทั่งใบหายสะบัด
  • แล่นเรือตามลม (Running): ตัวเรือทำมุม 90 องศากับกระแสลม ปล่อยใบเรือออกทำมุม 45 องศากับตัวเรือเพื่อรับลม หันหัวเรือไปทางจุดหมาย หากใบสะบัดให้ดึงใบเข้าจนใบหายสะบัด ถือเป็นเทคนิคการแล่นเรือที่ทำความเร็วได้มากที่สุด
  • แล่นเรือขวางลม (Reaching): ปล่อยใบเรือทำมุม 90 องศากับตัวเรือ เอียงเรือมาด้านตัวเองเล็กน้อย นั่งไปทางด้านหน้าเรือ เทคนิคนี้ทำความเร็วได้น้อยที่สุด

คำศัพท์เฉพาะในกีฬาเรือใบ 

คำศัพท์เฉพาะในกีฬาเรือใบ

กีฬาเรือใบ เป็นกีฬาที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ค่อนข้างมาก รวมถึงมีคำศัพท์เฉพาะที่จำเป็นต้องรู้อยู่หลายคำ โดยคำศัพท์ที่ควรรู้เบื้องต้นมีดังนี้

  • Starboard Tack: เรือกำลังแล่นอยู่ โดยมีกระแสลมเข้ามาทางกราบขวา
  • Port Tack: เรือแล่นโดยมีกระแสลมพัดเข้ามาทางด้านกราบซ้าย
  • Close Hauled: การแล่นเรือทวนลม โดยใบเรือทำมุมใกล้กับทิศทางที่กระแสลมพัดมามากที่สุด
  • Close Reach: การแล่นเรือทวนลม
  • Beam Reach: การแล่นเรือที่ใบเรือตั้งฉากกับกระแสลม
  • Broad Reach: การแล่นเรือที่กระแสลมพัดเข้ามากระทำกับเรือบริเวณกลางลำเรือ

การเตรียมตัวก่อนไปเล่นกีฬาเรือใบ

เนื่องจาก กีฬาเรือใบ เป็นกีฬาทางน้ำ แถมยังเป็นกีฬากลางแจ้งที่ต้องเจอทั้งน้ำ แดด และลม ทำให้ก่อนที่ออกไป ล่องเรือใบ จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนเตรียมตัว ศึกษาข้อมูล รวมถึงเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อให้การล่องเรือทำได้อย่างปลอดภัยและได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่า

วิธีการเตรียมตัวเล่นเรือใบให้ปลอดภัย

ไม่ว่าเป็นการเล่น กีฬาเรือใบ ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ล้วนจำเป็นที่จะต้องวางแผนและศึกษาข้อมูลที่จำเป็นก่อนเล่นเพื่อความปลอดภัยและสามารถเพลิดเพลินไปกับการล่องเรือได้อย่างเต็มที่ โดยสิ่งที่ต้องศึกษาก่อนเล่นเรือมีดังนี้

  • ตรวจสอบสภาพอากาศ: ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของ กีฬาเรือใบ เพราะสภาพอากาศสามารถเปลี่ยนแปลได้รวดเร็ว ก่อนเล่นคลื่นลมอาจจะเงียบสงบ แต่เล่นไปสักพักคลื่นลมอาจจะแรงขึ้นอย่างกะทันหันได้ ดังนั้น การตรวจสอบสภาพอากาศก่อนล่องเรือไม่ว่าจะเป็นความเร็วและทิศทางลม รวมถึงระดับน้ำทะเล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาด 
  • ตรวจสอบความพร้อมของเรือ: ก่อนออกเรือควรตรวจสอบเรือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องวาอยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งาน
  • วางแผนเส้นทาง: การวางแผนเส้นทางก่อน เล่นเรือใบ ว่าจะไปที่ไหน เมื่อใด และจอดเรือที่ใด จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของการล่องเรือล่วงหน้า และสามารถปรับเปลี่ยนแผนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้าได้ทันเวลา

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนเล่นเรือใบ

ในการ แล่นเรือใบ แต่ละครั้ง จำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานเพื่อความปลอดภัย เพราะอย่างที่บอกว่า กีฬาเรือใบ เป็นกิจกรรมทางน้ำที่มีความอันตราย หากไม่ระวังก็อาจเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ โดยอุปกรณ์พื้นฐานที่ควรเตรียมมีดังนี้ 

  • เสื้อแขนยาว: ควรเลือกเสื้อแขนยาวที่ไม่หนาเกินไป แห้งเร็ว และสามารถป้องกันรังสี UV ได้
  • กางเกงขายาว: ควรเลือกกางเกงขายาวที่ไม่หนาเกินไป มีความคล่องตัว แห้งเร็ว และป้องกันรังสี UV ได้
  • รองเท้า: ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้น ยึดเกาะพื้นได้ดี และระบายน้ำได้ดี 
  • ขวดน้ำ: ควรเลือกขวดพลาสติกที่สามารถลอยน้ำได้ และจุน้ำได้พอมควร
  • หมวก: ควรเลือกหมวกแก๊ปที่มีขนาดพอดีกับผู้ใส่ และควรมีสายคล้องคอเพื่อกันหมวกตกน้ำ 
  • ถุงมือ: ควรเลือกถุงมือกันลื่นหรือถุงมือสำหรับนัก กีฬาเรือใบ โดยเฉพาะ
  • แว่นตากันแดด: ควรเลือก แว่นกันแดด ที่สามารถกรองแสงและรังสี UV ได้ และควรมีสายคล้องคอเพื่อกันแว่นตกน้ำ
  • ครีมกันแดด: ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไป และต้องกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
  • ชุดชูชีพ: ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับการ ล่องเรือใบ แม้ว่าจะว่ายน้ำเป็น แต่ก็จำเป็นต้องสวม เสื้อชูชีพ ทุกครั้งที่ออกเรือ

สถานที่เล่นเรือใบในกรุงเทพฯ และค่าใช้จ่าย

ศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าในกรุงเทพมหานครก็มี สถานที่สำหรับฝึก ขับเรือใบ ที่ทุกคนสามารถไปใช้บริการได้ มีเรือใบและอุปกรณ์ให้เช่ายืมครบครัน แถมราคายังไม่แพงอีกด้วย ซึ่งสถานที่ที่ว่านี้ก็คือ ศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน กทม นั่นเอง

ศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน

สำหรับศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน กทม ตั้งอยู่ติดกับสวนหลวง ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยภายในพื้นที่ศูนย์กีฬาจะมี ทะเลสาบ ขนาดใหญ่ ถือเป็นสถานที่ เรียนเรือใบ กรุงเทพ ยอดฮิต ซึ่งผู้ที่มาใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานใด ๆ เพราะทางศูนย์ฯ มีครูฝึกดีกรีอดีตนักกีฬาทีมชาติไทยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และผู้ที่มาใช้บริการทุกคนจะต้องเข้าคลาสฟังบรรยายความรู้ภาคทฤษฎีก่อนลง แล่นเรือใบ โดยมีหัวข้อบรรยายดังนี้

  • วิธีสังเกตทิศทางและความเร็วลมด้วยสายตา
  • การนั่งและการเปลี่ยนตำแหน่งนั่งขณะอยู่บนเรือใบ
  • วิธีการควบคุมเรือด้วยใบและหางเสือ
  • รวมถึงวิธีประกอบเรือให้พร้อมใช้งาน

การฝึกแล่นเรือใบที่ศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน

หลังจากเข้าคลาสฟังบรรยายแล้ว ก็ถึงเวลาที่ผู้ใช้บริการทุกคนจะได้ฝึก ขับเรือใบ ด้วยตัวเอง โดยทางศูนย์จะมีครูฝึกและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้เสร็จสรรพ โดยเรือใบที่ใช้แล่นใน บึงหนองบอน กทม เป็นเรือใบประเภท “Walker Bay” ที่นิยมใช้เพื่อสันทนาการ เหมาะสำหรับใช้ฝึก ส่วนการฝึกก็จะเริ่มจากการฝึกโยกหางเสือไปมาเพื่อควบคุมทิศทางเรือ ฝึกสังเกตทิศทางลมโดยดูจากการเคลื่อนที่ของผิวน้ำ รวมถึงฝึกควบคุมใบเรือให้เหมาะกับทิศทางลม เป็นต้น

เวลาเปิด-ปิดของศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน

เวลาเปิด-ปิดของศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

  • รอบแรก: เวลา 11.00 – 14.30 น
  • รอบสอง: เวลา 15.00 – 17.45 น. 

สำหรับผู้ที่ตั้งใจมาฝึกเล่น กีฬาเรือใบ แนะนำให้เลือกช่วงรอบสอง เพราะแดดเริ่มร่ม และกระแสลมยามเย็นเริ่มพัดแรง เหมาะกับการฝึกล่องเรือมากกว่า แถมยังมีโอกาสได้พบปะทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ ที่มาหัด ล่องเรือใบ เหมือนกันด้วย หรือหากเป็นผู้ที่สนใจกีฬาทางน้ำประเภทอื่น ทางศูนย์ก็มี เรือคายัค และ บอร์ดยืนพาย ไว้คอยให้บริการเช่นกัน 

ค่าบริการของศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน

ก่อนเข้าใช้บริการศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน จะต้องทำการสมัครสมาชิกผ่านแอปพลิเคชัน “CSTD Smart Member” ซึ่งมีทั้งใน iOS และ Android โดยมีอัตราค่าสมัครสมาชิกเป็นรายปีตามอายุของผู้ใช้บริการ ดังนี้ 

  • อายุเกินกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี: ค่าสมัครสมาชิก 20 บาท/ปี 
  • อายุเกินกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี: ค่าสมัครสมาชิก 40 บาท/ปี
  • อายุเกินกว่า 25 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี: ค่าสมัครสมาชิก 60 บาท/ปี
  • อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป: ค่าสมัครสมาชิก 20 บาท/ปี

เล่นกีฬาเรือใบให้ปลอดภัยต้องไม่ประมาท

ทั้งหมดนี้คือสาระความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ กีฬาเรือใบ รวมถึงสถานที่ เรียนเรือใบ กรุงเทพ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ใครที่สนใจอยากลองเปิดประสบการณ์ เล่นเรือใบ ด้วยตัวเองดูสักครั้งก็สามารถแวะไปใช้บริการศูนย์กีฬาทางน้ำ บึงหนองบอน กทม กันได้ สำคัญคืออย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และห้ามประมาทเด็ดขาด เพราะเรือใบเป็นกีฬาทางน้ำที่ผู้เล่นอาจต้องเผชิญกับสถานการณ์เฉพาะได้ทุกเมื่อนั่นเอง  

exporty ข่าวสาร กีฬาเอ็กซ์ตรีม สุดท้าทาย

sportyrelax เว็บไซต์รวมกีฬา ข่าวสารสาระเกี่ยวกับ กีฬารอบโลก

ล่องแก่ง คืออะไร แนะนำ 10 สถานที่ ล่องแก่งนครนายก 2567 ที่ไม่ควรพลาด

แนะนำ 10 สถานที่ ล่องแก่งสระบุรี 2567 ไปล่องแก่งช่วงไหนดี ?